วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Multiple Intelligence


นักเรียนมีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน พวกเขามีจุดแข็งเฉพาะตัวและเป็นจุดแข็งที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่่งมักจะไม่นำมาพิจารณาในสถานการณ์ในห้องเรียน การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 9 ด้าน ดังนี้
  • Verbal-Linguistic Intelligence (ปัญญาด้านภาษา) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ 
  • Mathematical-Logical Intelligence (ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ 
  • Musical Intelligence (ปัญญาด้านดนตรี) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
  • Visual-Spatial Intelligence (ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง
  • Bodily-Kinesthetic Intelligence (ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
  • Interpersonal Intelligence (ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน
  • Intrapersonal Intelligence (ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
  • Naturalist Intelligence (ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
  • Existential Intelligence (ปัญญาด้านอัตถภวนิยม จิตนิยมหรือการดำรงคงอยู่) คือ  ความไวและความสามารถในการจับประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่นความหมายของชีวิต ทำไมคนเราถึงตาย และเรามาอยู่ที่นี้ได้อย่างไร


การเรียนแบบร่วมมือ : Cooperative Learning

การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธี

ที่ผู้เรีการเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีที่ผู้เรียนทำการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลุ่ม เพื่อบรรลุเป้าหมายสมาชิกทุกคนจึงช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาครูไม่ใช่เป็นแหล่งความรู้ที่คอยป้อนแก่นักเรียน แต่จะมีบทบาทเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือจัดหาและชี้แนะแหล่งข้อมูลในการเรียน ตัวนักเรียนเองจะเป็นแหล่งความรู้ซึ่งกันและกันในกระบวนการเรียนรู้ยนทำการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

      หลักการ
  1. ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม
  2. ผู้เรียนต้องอยู่กลุ่มเดิมสักระยะหนึ่ง
  3. ความพยายามของแต่ละบุคคลในการช่วยเหลือไม่เพียงแต่ตัวบุคคลนั้นที่จะได้รับผลตอบแทน แต่บุคคลอื่น ๆ ในชั้นยังได้รับด้วย
  4. ต้องมีการสอนเรื่องทักษะทางสังคม
  5. การเรียนภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมาย
  6. ผู้เรียนต้องรับผิดชอบงานของตนเอง
  7. มีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม
  8. สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มจะถูกกระตุ้นให้มีความรับผิดชอบ และส่งเสริมภาวะการเป็นผู้นำ
  9. ครูไม่เพียงแต่จะสอนภาษา แต่ยังสอนเรื่องการทำงานร่วมกันด้วย


วิธีการสอนแบบ Task Based




Task-Based Instruction คือ การสอนโดยผ่านกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยงาน มีจุดประสงค์ที่ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด ทักษะ และทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่ม และสื่อออกมาในลักษณะภาษาของผู้เรียนเอง ถ้าผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้น ถือว่าประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้

หลักการ
  1. งานที่ทำต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน
  2. ก่อนทำชิ้นงานจริงต้องมีการซ้อมก่อน
  3. ครูควรจะแยกขั้นตอนในการทำงานให้ชัดเจน
  4. หาวิธีการที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานให้สำเร็จ
  5. ครูจะสอนโดยใช้ภาษาใดก็ได้
  6. ครูช่วยผู้เรียนโดยการบอกภาษาที่ถูกต้อง
  7. มีการใช้ jigsaw task ในการสอน
  8. นักเรียนควรได้รับรู้ถึงความสำเร็จในการทำงาน
  9. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบงานด้วยตนเอง

วิธีสอนภาษาที่เน้นเนื้อหา : Content-based




          การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา หรือที่เรียกว่า Content – Based Instruction (CBI)วิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาเป็นการสอน ที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อ สาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหา พร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครู ไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form)หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา (Brinton, Snow, Wesche, 1989)
        วิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อ สาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหา พร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครู ไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้  การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา
          สรุป การสอนแบบ Content-based เป็นวิธีการสอนที่เน้นเนื้อหาเป็นการใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษาหน้าที่ของภาษาและทักษะย่อยที่ผู้เรียนจำเป็นจะต้องเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจสาระของเนื้อหาอย่างแท้จริงซึ่งการใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาจะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียนสอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มาก

การสอนภาษาแบบสื่อสาร : Communicative Language Teaching




         เป็นแนวคิดซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา (linguistic knowledge) ทักษะทางภาษา (language skill) และความสามารถในการสื่อสาร (communicative ability) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร
ลักษณะพื้นฐานของ CLT มีดังนี้                 
1. เน้นการเรียนโดยวิธีสื่อสารผ่านการปฏิสัมพันธ์โดยใช้ภาษาเป้าหมาย(target language)                 
 2. เน้นการใช้สื่อและเนื้อหาที่เป็นของจริง (authentic material)                 
 3. เน้นทั้งทักษะภาษา ( language skill) และกระบวนการเรียนรู้ (learning process)                 
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง)                 
5. เชื่อมต่อระหว่างการเรียนภาษาในชั้นเรียนกับการเรียนและการใช้ภาษานอกห้องเรียน 
ขั้นตอนการสอน 
1. ครูนำเหตุการณ์นอกห้องเรียนเข้าไปสู่ชั้นเรียนโดยใช้ บทบาทสมมุติ (role play) การเลียนแบบ (simulation) และกิจกรรมการแก้ปัญหา (problem solving activity)                 
 2. ครูใช้ภาษาที่เป็นสภาพจริง (authentic language) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือภาษาที่เป็นธรรมชาติไม่ใช้ภาษาที่ดัดแปลงใช้เฉพาะในชั้นเรียน แต่เป็นภาษาที่ใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน                 
3. ครูเน้นความหมายของภาษา (meaning) เพื่อการสื่อสารเพื่อช่วยให้นักเรียน คาดเดาเจตนาของผู้พูดหรือผู้เขียนได้                 
 4. ครูให้โอกาสนักเรียนแสดงความรู้สึกและความคิดและทัศนคติส่วนตัวของนักเรียน                  
5. ครูกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนแบบร่วมมือและทำงานเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละคนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม                 
6. ครูออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ครอบคลุมสมรรถนะทางการใช้ภาษาด้านการสื่อสาร (communicative competence) ให้มากที่สุด


การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง : Total physical response method

          



           วิธีสอนแบบนี้อิงแนวคิดที่ว่า การสื่อความหมายของภาษาต่างประเทศ อาจทำได้โดยการปฏิบัติ หรือใช้กริยาอาการประกอบ ผู้เรียนจะจำได้ดี ถ้าได้ปฏิบัติหรือแสดงการโต้ตอบด้วยการเรียนภาษาควรเรียนกลุ่มคำที่มีความหมายไม่ใช่การเรียนคำโดด ๆ เน้นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนผู้เรียนควรได้รับการฝึกฟังให้เข้าใจก่อนที่จะฝึกพูด ผู้เรียนจะเริ่มพูด เมื่อพร้อมที่จะพูดผู้เรียนจะเรียนรู้ภาษาจากการสังเกตและการกระทำของผู้อื่นและจากการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การที่ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้ดียิ่งขึ้น การแก้ไขเมื่อผู้เรียนทำผิดจึงควรทำอย่างนุ่มนวล ไม่โจ่งแจ้งโดยผู้สอนอาจพูดซ้ำ หรือปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่างการแก้ไขในรายละเอียดอาจต้องชะลอไว้จนกว่าผู้เรียนจะอยู่ในระดับสูงขึ้น 
ลักษณะเด่น
1. ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู
2. ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง จนถึงระยะเวลาที่
นักเรียนสามารถพูดได้แล้ว จึงเรียนอ่านและเขียนต่อไป
3. ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์
มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคำสั่ง
4. นักเรียนจะข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู
5. ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียน

วิธีการสอนแบบ Comunity Language Learning

           วิธีการสอนแบบนี้ ครูจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา และพยายามที่จะคอยสนองความต้องการในการใช้ภาษาของผู้เรียนเหมือนกับผู้เรียนเป็นผู้มารับคำปรึกษา บรรยากาศในห้องเรียนจัดเหมือนกับชุมชน (community) เน้นให้ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการเรียนภาษาจะเปรียบเหมือนกับการเจริญเติบโตของมนุษย์เริ่มจากทารกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนกระทั่งถึงขึ้นที่เป็นอิสระหรือเป็นผู้ใหญ่การช่วยเหลือแต่ละขั้นของครูจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน 
กิจกรรมการเรียนการสอนวิธีนี้มีดังนี้         
1. การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน         
 2. การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น         
3. การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย         
4. ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา         
5. วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป         
6. สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ         
7. การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา         
8. สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ  


วิธีสอนแบบ Desuggestopedia


        ธรรมชาติของผู้เรียน คือ จะตั้งอุปสรรคขึ้นมาขัดขวางการเรียนรู้ของตนเอง  ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถใช้ความสามารถ/สมอง ได้อย่างเต็มที่ วิธี Desuggestopedia ขึ้นมาเพื่อแก้ไขหรือ กำจัด อุปสรรคทางความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนกล้าที่จะเรียนรู้ และก้าวผ่านอุปสรรคนั้นไปให้ได้

หลักการ/Principle

1.  การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้ผ่อนคลาย สบาย น่าเรียน
2.  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นรอบ ๆตัว โดยไม่รู้ตัว ( จากการจัดสื่อความรู้รอบห้องเรียน)
3.  ถ้าผู้เรียนเชื่อและเคารพในตัวครูผู้สอน ก็จะส่งผลให้ผู้เรียนรับและจดจำสิ่งที่ครูสอนได้ดีขึ้น
4.  ครูต้องพยายามกำจัดอุปสรรคที่ผู้เรียนสร้างขึ้น
5.  ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจ
6.  ใช้ภาษาแม่ในการอธิบายความหมาย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ
7.  นำศิลปะ เพลง ดนตรี ละคร เข้ามาบูรณาการในการเรียนการสอน
8.  ข้อผิดพลาดควรเป็นสิ่งที่ต้องรับฟัง และยอมรับ

Teaching steps

1.  ให้ผู้เรียนสมมติชื่อ อาชีพ ใหม่เป็นภาษาเป้าหมาย
2.  ครูสอนบทสนทนา  คำศัพท์  และไวยากรณ์
3.  ครูสอนบทสนทนาพร้อมกับการจัด Concerts สองรอบ
   -  รอบแรกครูจะอ่านบทความให้เข้ากับทำนองดนตรีสนุกสนาน
   - รอบที่สองครูก็อ่านบทความให้เข้ากับทำนองดนตรีที่เป็นแบบสบายๆ
4.  ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมที่แตกต่างหลากหลาย  เช่น เกม เพลง คำถาม แบบฝึก ละคร

เทคนิคที่ใช้ในการสอน

1. จัดบรรยากาศห้องเรียน
2.  เรียนรู้สิ่งที่เห็นโดยไม่ตั้งใจ
3.  คำแนะนำในทางบวก
4.  ทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ
5.  เลือกชื่อ อาชีพ ใหม่
6.  แสดงบทบทสมมติ
7.  First concert
8.  Second  concert
9.  กิจกรรมที่หลากหลาย