วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการสอนแบบฟัง – พูด ( Audio – Lingual Method )



วิธีฟัง – พูด ( Audio – Lingual Method )
     การสอนวิธีนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น Oral – Aural Method และ Oral linguistic method แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า Audio – Lingual Method การสอนวิธีนี้ยึดทฤษฎีที่ว่า ภาษาทุกภาษาในโลกย่อมมีระบบเสียง โครงสร้าง (ไวยากรณ์ ) และความหมายเป็นของตนโดยเฉพาะ และยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้แบบศึกษาพฤติกรรม ( behaviorism ) ซึ่งเชื่อว่าภาษานั้นเป็นพฤติกรรม เมื่อผู้เรียนมีสิ่งเร้าซึ่งเกิดขึ้นโดยการที่ครูเป็นผู้ให้แบบอย่างทางภาษาโดยการพูดหรือเขียน เมื่อผู้เรียนฟังหรืออ่านแล้วก็มีพฤติกรรมตอบสนองโดยการพูดหรือเขียน ตลอดเวลาผู้สอนและผู้เรียนจะมีพฤติกรรมตอบโต้สัมพันธ์กัน คือครูประเมินผลโดยการพิจารณาจากการตอบสนองของนักเรียน ประเมินค่าแล้วให้การฝึกอย่างหนักหน่วงเป็นการเสริมแรง ( reinforcement ) โดยใช้วิธีการฝึกโครงสร้าง ( pattern ) ซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติ
     ในการสอนมีการเปรียบเทียบระบบเสียงและโครงสร้างของทั้งสองภาษา ( ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ) เพื่อผู้สอนจะได้เห็นข้อคล้ายคลึงและแตกต่าง เป็นประโยชน์ในการฝึก กล่าวคือถ้าเสียงหรือแบบประโยคใดคล้ายกัน ครูก็ไม่ต้องเสียเวลาฝึกมากนักเพราะนักเรียนจะเรียนรู้ได้เร็วเป็นต้นว่า ภาษาไทยมีเสียง  ซึ่งคล้ายกับเสียงภาษาอังกฤษ เมื่อพบคำว่า do นักเรียนจะพูดคำนี้ได้ไม่ยากนัก แต่เมื่อมาถึงเสียง th ซึ่งอยู่ข้างหน้าคำ thing เสียงนี้ในภาษาไทยไม่มี ครูจะต้องให้ความเอาใจใส่ในการฝึกเป็นพิเศษ นักภาษาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าชาวต่างชาตินั้นสามารถจะฝึกหัดพูดให้เสียงเหมือนเจ้าของภาษาได้ เมื่อมีการอธิบายอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับฐานที่เกิดของเสียงต่าง ๆ และวิธีออกเสียงนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็เปรียบเทียบในภาษาของผู้เรียนที่ใกล้เคียงกับเสียงนั้น เช่น เสียง th นี้ คนไทยอาจจะได้ยินว่าเหมือนเสียง  หรือ  หรือบางทีได้ยินเป็นเสียง  ได้ ครูผู้สอนจะต้องชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของเสียงเหล่านี้ และฝึกให้นักเรียนฟังจนจับข้อแตกต่างได้ เมื่อฟังได้ดีแล้วจึงฝึกให้พูดเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ให้ถูกต้อง ในการฝึกเสียงซึ่งไม่มีในภาษาไทยนี้ จะต้องฝึกถึงขั้นที่นักเรียนทำได้จริง
      การเรียนความหมายของศัพท์ก็เช่นเดียวกัน ต้องนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างสองภาษาเพื่อจะพิจารณาว่าทั้ง 2 ภาษาให้ความหมายเหมือนกันหรือไม่ ศัพท์อะไรบ้าง ซึ่งอธิบายความหมายความคิดและความเข้าใจในเรื่องความเป็นไปในชีวิตในแง่ต่าง ๆ คล้ายกัน หรือแตกต่างกันไป คำที่มีความหมายอย่างเดียวกันในสองภาษา การสอนก็ทำได้โดยง่าย แต่ถ้าคำใดแตกต่างกันไป ในการสอนครูควรใช้อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้มาช่วย หรืออาจจะมีการทำแบบฝึกหัด การเปรียบเทียบ และวิธีอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งต่างกัน ในการสอนโครงสร้างของภาษาใหม่นั้น การสอนจะเริ่มไปจากแบบที่ทั้งสองภาษามีส่วนคล้ายกันโดยไม่ต้องอธิบายมาก ส่วนสำคัญอยู่ที่แบบสร้างที่ไม่เหมือนกัน ผู้สอนจะต้องเน้นและให้การฝึกฝนเป็นพิเศษ ในการสอนคำศัพท์นั้น ในระยะเริ่มแรกนักเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนมากคำ แต่ละคำครูจะต้องสอนเสียง โครงสร้าง ให้นักเรียนสามารถใช้คำศัพท์นั้นได้ถูกต้อง เมื่อนักเรียนแม่นเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว และเรียนนาน ๆ เข้าจำนวนคำศัพท์ก็จะเพิ่มพูนขึ้นเอง
        ในการอธิบายบทเรียนต่าง ๆ นั้น การสอนวิธีนี้อนุโลมให้ใช้ภาษาของผู้เรียนมาอธิบายได้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทั้งเป็นการประหยัดเวลาด้วย แต่การใช้ภาษาไทยอธิบายนี้ ครูควรพยายามใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น การอธิบายเกี่ยวกับเรื่องไวยากรณ์หรือคำศัพท์หรือรูปประโยคที่ยาก ๆ ซึ่งไม่สามารถจะแสดงท่าทางหรือใช้อุปกรณ์การสอนช่วยได้ก็ให้แปลให้นักเรียนเข้าใจได้ แต่หลังจากแปลแล้วก็ให้มีการฝึกใช้ภาษาอังกฤษให้มาก

การสอนแบบตรง (direct method)


         การสอนแบบตรงเป็นวิธีแรกหลังจากเกิดการปฏิรูปทางด้านการสอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจากนักภาษาศาสตร์เห็นว่าวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลมิได้ช่วยให้ผู้ เรียนพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการสอนแบบตรง คือมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสาร บทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ผู้เรียนจะ ถูกกระตุ้นให้ใช้ภาษาต่างประเทศที่กำลังเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีการใช้ภาษาของผู้เรียนเลย เวลาสอนผู้สอนจะพยายามสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เหมือนสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้สอนจะใช้ภาษาต่างประเทศตลอดเวลา ไม่มีการเน้นสอนไวยากรณ์จะไม่มีการบอกกฎไวยากรณ์อย่างชัดเจน แต่การเรียนรู้ไวยากรณ์จะเรียนรู้อยากตัวอย่างและการใช้ภาษา แล้วสรุปกฎเกณฑ์ ถึงแม้จะมีการฝึกทักษะทั้ง คือ ฟัง-พูด อ่าน เขียน แต่การฝึกทักษะพูดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดทักษะอ่าน และเขียนจะมีพื้นฐานมาจากการพูดก่อน วิธีสอนแบบนี้เน้นการรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้พูดภาษา
สรุปลักษณะสำคัญของการสอนแบบตรงดังนี้
ใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
ผู้เรียนจะถูกฝึกให้ใช้ภาษาเป้าหมายที่เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้คิดเป็นภาษาเป้าหมาย
ทักษะแรกที่เน้นคือทักษะพูดแล้วจึงพัฒนาทักษะอ่าน

วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation)


วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation)

การสอนวิธีนี้บางทีก็มีคนเรียกว่าเป็นวิธีไวยากรณ์และแปล ( Grammar - Translation Method) เพราะเน้นในการเรียนกฎเกณฑ์การใช้ภาษา ข้อยกเว้นต่าง ๆ และวิธีแปล การเรียนแบบนี้ครั้งหนึ่งมีผู้นิยมกันมาก วิธีสอนแบบนี้ใช้วิธีแปลเป็นหลักโดยถือว่าภาษานั้นประกอบด้วยคำเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นตำราที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษจึงยึดเอาการเรียนให้รู้คำศัพท์เป็นจำนวนมากเป็นเกณฑ์ แบบฝึกหัดต่าง ๆ นั้นก็ได้แก่การให้ประโยคภาษาไทย ให้นักเรียนแปลเป็นภาษาอังกฤษ และให้ประโยคภาษาอังกฤษเพื่อให้นักเรียนแปลเป็นภาษาไทย 
ข้อดีของการสอนแบบแปล
1. การสอนแบบนี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มเรียนในระยะแรก ๆ คือ ในเวลาที่ผู้เรียนยังไม่รู้จักเสียง โครงสร้าง และความหมายมากพอ การแปลศัพท์ที่มีความหมายตรงกัน (word for word translation) ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจแจ่มแจ้ง และไม่เสียเวลามาก แต่ครูจะต้องค่อย ๆ ลดการแปลลงทีละน้อย ๆ เมื่อนักเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยการนำคำและโครงสร้างที่นักเรียนทราบมาใช้แทนที่
2. การแปลยังเป็นประโยชน์ในการช่วยทดสอบความเข้าใจของนักเรียน ในเรื่องที่สอนไปแล้ว แต่ในการฝึกเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องฝึกแปลจากไทยเป็นอังกฤษหรือจากอังกฤษเป็นไทย
ข้อเสียของการสอนแบบแปล
จะเห็นได้ว่า การสอนแบบแปลนี้ นักเรียนไม่ได้เรียนตามธรรมชาติของภาษาเลย นักเรียนที่เรียนแบบนี้จะฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องและพูดไม่ได้ 
ในด้านการเขียน การสอนแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้การเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนดีขึ้น เพราะนักเรียนทราบแต่ศัพท์ เมื่อนำมาเขียน นักเรียนก็จะใช้ศัพท์เหล่านั้นในประโยคโดยที่นักเรียนไม่แม่นในรูปแบบของประโยค และบังเกิดความเคยชินกับการคิดเป็นภาษาไทยก่อนเสมอแทนที่จะคิดเป็นภาษาอังกฤษเลยทีเดียว จะปรากฏว่านักเรียนใช้คำภาษาอังกฤษจริงแต่รูปประโยคจะเป็นภาษาไทย เช่น นักเรียนจะใช้ประโยคว่า “ The music enjoyed very much ” แทน “ I enjoyed the music very much .” เพราะประโยคข้างบนนั้นนักเรียนเขียนเทียบกับภาษาไทยว่า “ เพลงสนุกมาก ” แม้แต่ในการแปล การสอนแบบนี้ก็ไม่ได้ผลเต็มที่ นักเรียนอาจจะแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ แต่การแปลจากภาษาไทยเป็นภาษา อังกฤษนั้นนักเรียนจะเขียนประโยคที่ผิด ๆ ลงไปเสียเป็นส่วนมาก เพราะนักเรียนไม่คุ้นเคยกับการใช้ประโยคภาษาอังกฤษ
การแปลนั้นมิได้หมายความว่า นักเรียนจะเข้าใจภาษาอังกฤษ เพราะคำที่นักเรียนเข้าใจนั้นเป็นคำไทยที่ครูใช้ในการแปล ไม่ใช่ตัวภาษาอังกฤษที่นักเรียนอ่าน ถ้าครูอ่านภาษาอังกฤษนักเรียนจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าครูแปลเป็นไทยจึงจะเข้าใจ ดังนั้นที่นักเรียนเข้าใจคือ ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

การสอนแบบเงียบ (silent way)


การสอนแบบเงียบ (silent way)
     
วิธีสอนแบบเงียบเป็นวิธีสอนที่ริเริ่มโดย Caleb Gattegno ในปี ค.ศ. 1963 วิธีสอนแบบนี้มิได้เกิดจากวิธีสอนแบบความรู้ความเข้าใจ แต่มีบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น หลักการพื้นฐานที่ว่า  "การสอนเป็นรองการเรียน"  เป็นหลักการที่เน้นความรู้ความเข้าใจ เน้นให้ผู้เรียนคิดเองใช้ความสามารถของตนเองครูเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ผู้เรียนจะต้องพยายามนำสิ่งที่ตนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และต้องจดจ่ออยู่กับบทเรียนตลอดเวลา การสอนแบบเงียบนี้มักจะไม่มีหลักสูตรเป็นแบบแผนที่ชัดเจนแน่นอนผู้สอนจะเริ่มสอนจากสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้แล้ว และสอนจากโครงสร้างหนึ่งไปอีกโครงสร้างหนึ่งต่อ ๆ ไปเมื่อผู้เรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้น โครงสร้างเดิมจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง หลักสูตรจึงมักพัฒนาไปตามความต้องการของผู้เรียน โดยพัฒนาทักษะทั้ง 4   
    สรุปแล้วการสอนแบบเงียบเป็นการสอนที่ครู "เงียบ" แต่ใช้การบอกใบ้ท่าทาง และสื่อทุกชนิด แผนภูมิสีเพื่อช่วยในการออกเสียง แท่งไม้ที่เรียกว่า "Cuisiniere rod" คือชุดของแท่งไม้ที่มีสีและความยาวที่แตกต่างกันที่ครูใช้ในการช่วยให้นักเรียนพูด โดยเฉพาะผู้เริ่มเรียน โดยใช้คำศัพท์ง่ายเช่น ครูยกแท่งไม้นักเรียนพูด "This is a yellow rod" แล้วครูกระตุ้นให้นักเรียนพูดประโยคซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Take the long yellow rod and give it to Cathy. ในระหว่างนี้ครูจะไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุดเพื่อให้นักเรียนสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และรู้สึกเป็นอิสระจากการควบคุมของครู นักเรียนจะต้องเรียนรู้ที่จะประเมินตนเองจะแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของตนเองได้

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Parts of speech


Words 
ชนิดของคำในภาษาอังกฤษมี 8 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Nouns (คำนาม)
เช่น God, man, John, American, friend, star, stone, air, mile, beauty ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แนวคิด นามธรรม และความเชื่อ
2. Pronouns (คำสรรพนาม)
เช่น I, you, he, she, my, your, his, that, who, what, which, one, some ใช้เรียกแทนคำนาม จะได้ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก
ตัวอย่าง:
  John works at the hospital.  He is a doctor.
  Kate is my friend.  I know her well.
  A book is on the desk.  The book which is on the desk is about history.
  The children are playing outside.  Some of them are crying.
3. Adjectives (คำคุณศัพท์)
ใช้ขยาย noun กับ pronoun เพื่อบรรยายให้เห็นลักษณะของ noun กับ pronoun ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น adjective สำหรับบอกลักษณะ บอกปริมาณ และบอกจำนวน
     - Qualifier Adjectives หรือคำคุณศัพท์ที่ใช้บอกลักษณะ เช่น beautiful, healthy, kind, poor, fast, dry, black
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
Adj. + Adj. + Noun
  An apple  A red apple  A crispred apple
  A girl  A tall girl  A beautifultall girl
     - Quantifier Adjectives หรือคำคุณศัพท์ที่ใช้บอกปริมาณ เช่น many, much, few, little
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
  An apple  Many apples
  money  A little money
     - Numeral Adjectives หรือคำคุณศัพท์ใช้บอกจำนวนนับลำดับที่ เช่น one, two, three, first, second
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
  A house  Two houses
  Floor  First floor
4. Verbs (คำกริยา)
เช่น go, take, fight, speak, sleep, wait ใช้แสดงกริยาอาการต่างๆ เป็นส่วนสำคัญในภาคแสดงของประโยค นอกจากนี้ คำกริยายังแบ่งได้เป็น กริยาแท้ และกริยาไม่แท้
     - Finite Verbs กริยาแท้หรือคำกริยาที่สามารถผันตามประธานและรูปกาลได้
     - Non-finite Verbs (Verbals) กริยาไม่แท้ ไม่สามารถเปลี่ยนรูปได้
ตัวอย่าง: verb "be" มีกริยาในรูปต่างๆ ดังนี้
  Finite Form  Am, is, are, was, were
  Non-finite Form  Infinitive = to be
  Present Participle = being
  Past Participle = been
  Gerund = being
 5. Adverbs (คำวิเศษณ์)เช่น well, fast, long, gently, recently, again, yesterday, soon, rather, perhaps, not
ใช้ขยาย verb, adverb, adjective, preposition, conjunction, phrase, sentence เพื่อเพิ่มความหมายให้กับสิ่งที่ถูกขยาย
ตัวอย่าง:
  ขยาย  verb  He walks.  He walks fast.
  ขยาย  adverb  The dog grows quickly.  The dog grows very quickly.
  ขยาย  adjective  It is hot today.  It is surprisingly hot today.
  ขยาย  preposition  My cat sits beside me.  My cat sits right beside me.
  ขยาย  conjunction  She will come though it is late.  She will come even though
   it is late.
  ขยาย  phrase  The hotel is on the top of
   the mountain.
  The hotel is nearly on the top of
   the mountain.
  ขยาย  sentence  The bus leaves at 10 p.m.  However, the bus leaves at
   10 p.m.
6. Prepositions (คำบุพบท)
เช่น at, in, into, of, for ใช้เชื่อมกริยากับส่วนต่างๆ ของประโยค เพื่อบอกเวลา สถานที่ และทิศทาง ทำให้ประโยคสมบูรณ์
ตัวอย่าง:
  In  He is in the pool.
  On  There is a mark on your shirt.
  At  He always arrives late at school.
  Against  A woman is standing against the door.
  Up to  I sleep up to 8 hours a day.
7. Conjunctions (คำสันธาน)
เช่น and, but, or, nor, that, if, because ใช้เชื่อมคำหรือประโยค มีทั้ง conjunction แบบคล้อยตาม ขัดแย้ง และเป็นเหตุเป็นผล
ตัวอย่าง:
  And  Thais eat with a spoon and fork.
  But  BMW is beautiful but expensive.
  Or  Would you like coffee or tea?
  Neithe...nor  Neither I nor she speaks Spanish.
  Because  Tim passed the exam because he studied hard.
8. Interjections (คำอุทาน)
เช่น oh, alas, hurrah ใช้แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง:
  Well  Well! That’s expensive.
  Oh  Oh! That’s great.
ในภาษาอังกฤษคำหนึ่งคำอาจจะเป็นได้มากกว่าหนึ่งชนิด แต่เมื่อใช้ในบริบทหนึ่งๆ แล้ว คำๆ นั้นจะทำหน้าที่ได้แค่เพียงอย่างเดียว เช่น อาจจะเป็น verb หรือ noun หรือ อาจเป็น adverb หรือ preposition ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
  Look:Look at that. (Look = verb)
Let me have a look at that. (look = noun)
  Walk:He walked all the way here. (walked = verb)
He is taking a walk. (walk = noun)
  In:Is John in? (in = adverb)
In the house. (In = preposition)
  Up:He climbed up. (up = adverb)
Climb up the wall. (up = preposition)
  After:He looked before and after. (after = adverb)
His dog trotted after him (after = preposition)
After we had left... (After = conjunction)
  

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ภาษาอังกฤษ กับ อนาคตของไทยในอาเซียน

UploadImage

บันทึกอาเซียน | ASEAN DIARY : การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาค กับ อนาคตของไทยในอาเซียน [1]

กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” | “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ความหมายที่เป็นที่เข้าใจในขั้นต้นก็เป็นเพียงเรื่องของทางราชการและภาคธุรกิจเอกชนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของการทำงานในโลกปัจจุบันอยู่แล้ว

แม้จะหมายความเพียงว่าเป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทว่าความหมายของบทบัญญัติที่ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันนั้นมีความหมายกว้างไกลไปถึงทุกส่วนของประชาคมอาเซียนด้วย

หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน

แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
   
ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน
   
ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา เช่นภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขแมร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปิโน ภาษาฮินดี และ ภาษาทมิฬ นอกจากนั้นยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศคือ: จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา (ฮินดี, อูรดู, ทมิฬ, เบงกาลี ฯลฯ)
   
ภาษาอังกฤษ: ในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต

แต่เมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็น “ภาษาทำงาน” ของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ “ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียน” และ “เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน”
   
ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ฯลฯ

คนทำงานเกี่ยวกับอาเซียน :

คนที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องของอาเซียน หมายถึงตั้งแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ไปจนถึงคนทำงานในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ทุกคนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

ข้าราชการไทยทุกกระทรวงทบวงกรม จะต้องมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และใช้ได้ดีด้วย เพราะงานเกี่ยวกับอาเซียนนั้นเกี่ยวกับทุกกระทรวงทบวงกรม จากนี้ไปควรเป็นนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุข้าราชการทุกระดับทุกหน่วยงานโดยคำนึงถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ ไม่ว่าตำแหน่งราชการนั้นๆจะเกี่ยวข้องกับงานอาเซียนโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เพราะถึงอย่างไรงานทุกระดับในหน่วยราชการจะต้องเกี่ยวข้องกับอาเซียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้น รัฐบาลควรมี นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าในช่วงเวลาก่อนถึงปี 2558/2015 อันเป็นปีบรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียน ว่าจะปรับขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชทุกคนทุกระดับแล้วปรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนข้าราชการที่พัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ให้ได้เงินเดือนสูงพอหรือสูงเหนือเงินเดือนปรกติในระบบราชการปัจจุบัน สูงจนเป็นที่ดึงดูดคนที่มีขีดความสามารถสูงหันมาสนใจรับราชการโดยไม่ลังเลว่าจะไปทำงานภาคเอกชนดีกว่าหรือไม่ สูงจนมาตรฐานการตอบแทนภาครัฐเทียบเท่าหรือดีกว่าภาคเอกชน

นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าของระบบราชการก็คือพัฒนาบุคคลากรที่พัฒนาได้แล้วปรับเงินเดือนส่วนที่พัฒนาได้มาตรฐาน ที่เหลือก็ค่อยๆพัฒนาและปรับผลตอบแทนต่อไปในระยะยาว ข้าราชการที่ไม่ปรับตัวก็ให้อยู่อย่างปรกติธรรมดาเหมือนเดิมแบบชีวิตไม่เปลี่ยนแปลงต่อไป เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ได้เสมอเหมือนกันทุกคน ทุกวัย ทุกวัฒนธรรม ไม่เกี่ยวกับภูมิปัญญาพิเศษใดๆ ใครๆก็เรียนภาษาใหม่ได้ ใครๆก็เรียนภาษาอังกฤษได้- ถ้าอยากจะเรียน -ไม่มีข้ออ้างว่ายากจน เรียนไม่ไหว หรืออายุมากแล้ว “ลิ้นแข็ง” เรียนไม่ได้แล้ว ภาษาเป็นทักษะ เรียนรู้ได้ด้วยการฝึกฝน ใช้มากๆ ใช้บ่อยๆ เท่านั้นเอง ถ้าขยันเรียนก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ในเวลาไม่นาน วิธีสร้างแรงจูงใจโดยการปรับขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการจึงเป็นแรงจูงใจอย่างมีเหตุผลดีในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชไทยยุคประชาคมอาเซียน

นโยบายระยะยาว ก็ควรเป็นการให้ขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานกลางของระบบราชการโดยปรับเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ หากทำเช่นว่านี้ได้ก็เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมในการปรับฐานเงินเดือนและผลตอบแทนให้ข้าราชการทุกคน

พนักงานประจำสำนักเลขาธิการอาเซียน สำหรับคนที่ต้องการจะไปทำงานเกี่ยวกับอาเซียนโดยตรงในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา หรือสำนักงานสาขาในประเทศอื่นที่จะมีในอนาคต ตลอดจนผู้ที่จะไปทำงานให้กับรัฐบาลประเทศสมาชิกอื่นของอาเซียน กล่าวโดยตรงก็คือคนที่จะไปรับราชการในประเทศอาเซียนอื่น ซึ่งในอนาคตจะเป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ เพราะแต่ละรัฐสมาชิกจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้รู้เกี่ยวกับอาเซียนและรัฐสมาชิกอื่นในระบบการทำงานของราชการ (หรือรัฐการ) ของตน ประเทศในอาเซียนจะมีความต้องการว่าจ้างคนไทยที่มีความรู้ความสามารถเรื่องไทยและเรื่องอาเซียนให้เข้ารับราชการในประเทศของตน ชาวไทยที่แสวงหาโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิตก็ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษก่อนเรื่องอื่นใด ในยุคอาณานิคม แม้ไทยจะมิได้เป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่รัฐบาลสยามก็จ้างชาวอังกฤษมาเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรก และจ้างชาวดัทช์มารับราชการในกรมชลประทาน และ จ้างชาวอังกฤษมาเป็นครูในพระราชวังและในระบบการศึกษาพื้นฐาน ในปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยและของชาติสมาชิกอาเซียนอื่นก็ล้วนแล้วแต่มีกรมกิจการอาเซียนด้่วยกันทั้งนั้น และย่อมเป็นไปได้ที่แต่ละหน่วยงานจะมีความจำเป็นต้องจ้างชาวไทยเข้าสู่ระบบราชการของแต่ละประเทศด้วย ในทางกลับกันระบบราชการไทยก็จะมีความจำเป็นที่ต้องจ้างชาวลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และ ฟิลิปปินส์ มาทำงานในกระทรวงต่างๆของไทย ทำนองเดียวกันกับที่สถาบันการศึกษาต่างๆจ้างครูชาวต่างชาติ

ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป

(ภาษาอังกฤษ สำหรับ : คนทำงานในอาเซียน คนทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน คนมีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน คนแสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน คนมีเพื่อนในอาเซียน คนเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน)

การทักทายและการแนะนำตัว


การทักทาย(Greeting)  และการแนะนำตัวเอง (Introduction)

โดยปกติเมื่อคนไทยพบกันจะกล่าวคำว่า"สวัสดี" ซึ่งเป็นคำทักทาย แต่ในภาษาอังกฤษการทักทาย จำต้องใช้แตกต่างกันออกไปตามแต่เวลาที่พบปะกัน เช่น
1.Good morning
สวัสดีตอนเช้า ใช้ตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงวันและใช้กับผู้ใดก็ได้
2.Good afternoon
สวัสดีตอนบ่าย ใช้ตั้งแต่หลังเวลาอาหารกลางวัน คือหลังเที่ยงไปจนถึงประมาณ โมงเย็น
3.Good evening
             - สวัสดีตอนค่ำ ใช้ตั้งแต่หลัง โมงเย็นไปแล้วจนถึงเวลากลางคืน
4.Hello
             - ใช้เฉพาะกับเพื่อนสนิท หรือทักทายแบบไม่เป็นทางการ โดยไม่จำกัดเวลา
5.Hi
             - ใช้เฉพาะกับคนที่เราสนิทมาก โดยไม่จำกัดเวลาเช่นกัน
6.How do you do?
             - คำนี้เป็น คำทักทายเช่นกันแต่ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อยเหมือนคำทักทายต้น ๆ แต่ก็ยังมีใช้ให้ได้ยินอยู่บ่อย และก็ไม่ได้นำกัดเวลาใช้ คำทักทายนี้จะใช้กับคนที่พบหรือรู้จักกันเป็นครั้งแรกเท่านั้น และจะอยู่ในรูปของประโยคคำถามซึ่งไม่ต้องการคำตอบ และเมื่อถูกทักทายว่า How do you do?
เราก็ต้องกล่าวตอบว่า How do you do? เช่นเดียวกัน
การแนะนำตัว (Introductions)

การแนะนำตัวเอง (Introducing yourself)
May I introduce myself. My name is ……. (ฉันขออนุญาตแนะนำตัวเอง ฉันชื่อ……..)
I'd like to introduce myself. My name’s …….. (ฉันอยากจะแนะนำตัวเอง ฉันชื่อ……)
Good morning Hello / Hi, my name is ............. (สวัสดีค่ะ/ครับ ฉันชื่อ……)
Call me ................. (เรียกฉันว่า…….)
I'm ................(ฉันคือ…….)
การแนะนำคนอื่น (Introducing others)
Let me introduce you to  ............. (ขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ......)
I'd like to introduce you to  .......... (ฉันอยากให้คุณรู้จักกับ......)
I'd like you to meet .......... (ฉันอยากให้คุณพบกับ.......)
Meet ............. (พบกับ......)
This is ........... (นี่คือ......)